ทศชาติชาดก เรื่องมโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 103
ครั้นท้าวเธอได้ทอดพระเนตรเห็นอาจารย์ทั้ง ๔ มาเข้าเฝ้า ก็มิได้ทรงรอช้า รีบรับสั่งถามอาจารย์ทั้ง ๔ ทันทีว่า “ท่านอาจารย์ฆ่ามโหสถแล้วหรือ” พระสุรเสียงของพระองค์สั่นสะท้าน เหมือนทรงข่มพระทัยอย่างสุดกำลัง “ขอเดชะ พระอาญามิพ้นเกล้า” ท่านเสนกะกราบบังคมทูล “พวกข้าพระพุทธเจ้ามาซุ่มรอตั้งแต่เช้าตรู่ จนบัดนี้
ทศชาติชาดก เรื่องมโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 52
แม้พระนางจะตรัสยืนยันเช่นนั้น ท้าวเธอก็ยังไม่ทรงเชื่อ กลับทรงกริ้วหนักยิ่งขึ้น ถึงกับตรัสด้วยพระสุรเสียงน่าเกรงขามว่า “เธออย่ามาปิดบังเราเลย เป็นไปไม่ได้ที่ชายผู้นี้จะทอดทิ้งเธอไป เธอต้องเห็นอะไรอย่างอื่นเป็นแน่ แต่ไม่ยอมบอกเรา กลับกล่าวเท็จเพื่อกลบเกลื่อน จงรีบบอกเรามาตรงๆ มิเช่นนั้น เราจะฟันเธอให้ขาดเป็นสองท่อนเสียเดี๋ยวนี้แหละ”
ทศชาติชาดก เรื่องมโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 51
พระนางอุทุมพรเทวีจึงทรงดำริในพระทัย “โธ่เอ๋ย! นึกว่าจะวิเศษสักปานใดหนอ ที่แท้บุรุษนี้มาทอดทิ้งเราไป เพราะเหตุที่เขาเป็นกาลกรรณีนี่เอง บุญบันดาลให้เราก้าวขึ้นสู่ฐานะอันสูงส่งถึงเพียงนี้ ที่ไหนเลย ชายผู้นี้จักคู่ควรกับเราได้เล่า” พระนางทรงดำริในพระทัยเช่นนี้แล้ว ก็ทรงพระสรวลออกมาเบาๆ โดยหารู้ไม่ว่าทุกอากัปกิริยาของพระนางนั้น ตกอยู่ในสายพระเนตรของพระราชสวามีตลอดเวลา
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - เนื้อนาบุญอันเลิศ
พระราชาว่า "ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ข้าพระองค์เห็นพระองค์ผู้ทรงเป็นสุขุมาลชาติเคยประทับในพระตำหนักอัน ประเสริฐ ทรงบรรทมเหนือพระยี่ภู่อันใหญ่โต เสด็จจากพระราชวังมาต่างถิ่นที่ปราศจากความเจริญ จึงได้ทูลถวายข้าวสุกอย่างดีมีกับเลิศรสเช่นนี้ พระองค์รับภัตตาหารนั้นแล้วไม่เสวยเอง แต่พระราชทานแก่พราหมณ์ผู้เป็นปุโรหิตทำไม พระเจ้าข้า"
มงคลที่ ๑๐ มีวาจาสุภาษิต - ราชฑูตรับใช้ตัวเอง
ตัณหาความทะยานอยาก เป็นสาเหตุของความทุกข์ เมื่ออยากได้ อยากมี อยากเป็น ก็ต้องแสวงหา และในการแสวงหา กว่าที่จะให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องฝ่าฟันอุปสรรคมากมาย ต้องคอยแก้ไขปัญหาสารพัด บางทีจะได้อะไรมาสักอย่างหนึ่ง เลือดตาแทบกระเด็น บางอย่างต้องเอาชีวิตเข้าแลกจึงจะได้มา เหมือนอย่างเรื่องของบุรุษคนหนึ่ง ที่ทั้งน่าทึ่งและน่าประหลาดใจ
ทศชาติชาดก เรื่องมโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 15
ในตอนนี้ ท้าวสักกเทวาธิราช จอมเทพผู้เป็นใหญ่ในภพดาวดึงส์ ทรงตรวจตราดูโลกมนุษย์ด้วยทิพยเนตร ทราบว่า พระโพธิสัตว์ซึ่งมาบังเกิดเป็นกุมาร เธอได้นามว่า มโหสถกุมาร บัดนี้เจริญวัยได้ ๗ ขวบแล้ว ท้าวเธอจึงดำริ์ที่จะเสด็จมาเพื่อทดลองปัญญามโหสถบัณฑิต แต่จะทดลองด้วยวิธีใดนั้น
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - จนข้ามภพ รวยข้ามชาติ ( ๓ )
พระองค์ทรงรับอาราธนา แล้วประทานบาตรแก่มหาทุคตะ มหาทุคตะรับบาตรไปด้วยความดีใจ เสมือนหนึ่งได้มหาสมบัติจักรพรรดิ น้ำตาไหลอาบแก้ม ด้วยความปลาบปลื้มปีติยินดี แม้พระราชามหาอำมาตย์ จะอ้อนวอน ขอบาตร หรือต่อรองขอซื้อบาตร ด้วยราคาเป็นแสน เขาก็ไม่ยอมขาย เพราะมหาทุคตะเป็นผู้มีปัญญา เห็นว่าบุญเท่านั้นที่จะเป็นสมบัติติดตัวไปได้ ทั้งในภพนี้และภพเบื้องหน้า จึงไม่ยอมยกบุญนี้ให้แก่ใคร
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - แรงบันดาลใจ ( ๑ )
พระราชาทรงมองดูลำต้น พลางดำริว่า ต้น มะม่วงต้นนี้ เมื่อเช้านี้เอง ยังเต็มไปด้วยผล เป็นพวงสวยงาม ทำความอิ่มตาเบิกบานใจให้แก่ผู้พบ เห็นที่ผ่านมาผ่านไป มาบัดนี้ ถูกเก็บผลหมดแล้ว มีกิ่งหักห้อยรุ่งริ่งดูไม่งาม แม้เราก็ควรเป็นเหมือนต้นไม้ที่ไม่มีผล พระองค์ทรงกำหนดไตรลักษณ์เช่นนี้ ทรงเจริญวิปัสสนา จนได้บรรลุปัจเจกโพธิญาณ
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - บุญยังความปรารถนาให้สําเร็จ
พระเถระท่านนี้มีนามว่า พระมหากัจจายนะ เป็นพระอรหันตเถระ ผู้มีผิวพรรณงดงามประดุจทองคำ ท่านมีประวัติ การสร้างบารมีที่น่าสนใจมาก เช่น กระทำการบูชาพระผู้มีพระภาคด้วยการถวายแผ่นอิฐทองคำมีค่าแสนหนึ่ง ทำเป็นฐานของพระสุวรรณเจดีย์ และตั้งความปรารถนาว่า "ด้วยอานุภาพแห่งบุญที่บังเกิดขึ้น จากการถวายแผ่นอิฐทองคำนี้ ทุกภพทุกชาติที่ได้เกิด ขอให้สรีระของข้าพเจ้าจงมีวรรณะเหมือนทองคำ"
ทศชาติชาดก เรื่องเนมิราช ผู้ยิ่งด้วยอธิษฐานบารมี ตอนที่ 17
มหาชนได้ฟังพระราชาตรัสเล่าเรื่องราวของสัตว์นรก และบาปกรรมที่ทำให้ต้องไปตกนรกเช่นนั้น ก็เกิดความหวาดกลัวบาปกรรม ต่างรับปากกับพระเจ้าเนมิราชว่า จะไม่ทำบาปอกุศลอย่างนั้นอีกต่อไป
วันวิสาขบูชา ตอน วันตรัสรู้
วันวิสาขบูชา Vesak Day ตอน วันตรัสรู้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอกบุรุษเมื่ออุบัติขึ้นในโลกย่อมอุบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมากเพื่อความสุขของมหาชนเพื่ออนุเคราะห์โลกเพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเอกบุรุษ คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
วันวิสาขบูชา ตอน วันประสูติ
ดวงจันทร์ในคืนวันเพ็ญปราศจากมลทิน โคจรไปในอากาศย่อมสว่างกว่าหมู่ดาวบนท้องฟ้า ด้วยกำลังแห่งรัศมี ฉันใดพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อทรงอุบัติขึ้นย่อมรุ่งโรจน์กว่าสรรพสัตว์ทั้งหลาย ฉันนั้น
มงคลที่ ๔ อยู่ในถิ่นที่เหมาะสม
เราจะเห็นว่า การได้อยู่ในปฏิรูปเทส เช่นพระวักกลินั้น เป็นมงคลยิ่งแก่ชีวิต เพราะท่านอยู่ในกรุงสาวัตถี ซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดเชตวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่นานที่สุด จึงมีโอกาสได้เห็นพระพุทธองค์ เห็นแล้วก็มีความศรัทธาเลื่อมใส ได้บวชในบวรพระพุทธศาสนา ได้ฟังธรรม ฝึกฝนตนเอง จนในที่สุดได้บรรลุมรรคผลนิพพาน
ทศชาติชาดก เรื่องเนมิราช ผู้ยิ่งด้วยอธิษฐานบารมี ตอนที่ 1
อธิษฐานบารมีนั้น คือการตั้งใจมั่นอย่างแน่วแน่ในการทำความดี อันมีผลสุดท้ายคือการกำจัดทุกข์ของตนเองและผู้อื่น แม้เป้าหมายจะยิ่งใหญ่แค่ไหน เมื่อได้ตั้งใจเอาไว้แล้วว่าจะทำ ก็ต้องทำให้สำเร็จให้จงได้ จะไม่เลิกรา และไม่ลดเป้าหมายลงอย่างเด็ดขาด
ทศชาติชาดก เรื่องสุวรรณสาม ผู้ยิ่งด้วยเมตตาบารมี ตอนที่ 19
ฝ่ายพระโพธิสัตว์ แม้ฤษีผู้เป็นบิดามารดาจะได้ดวงตาคืนมา มองเห็นเป็นปกติดังเดิมแล้ว แต่พระโพธิสัตว์ก็ยังคงปฏิบัติบำรุงบิดามารดาเหมือนดังเดิม มิให้ท่านทั้งสองต้องลำบากกายลำบากใจ
ทศชาติชาดก เรื่องสุวรรณสาม ผู้ยิ่งด้วยเมตตาบารมี ตอนที่ 15
ข้าแต่ท่านฤษี ได้โปรดเถิด จงให้อภัยแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด ท่านกล่าวถึงสามะกุมารว่าเขากำลังไปตักน้ำ แต่บัดนี้ สามะกุมารนั้นได้ถูกข้าพเจ้าฆ่าเสียแล้วด้วยลูกศรอาบยาพิษ
ทศชาติชาดก เรื่องสุวรรณสาม ผู้ยิ่งด้วยเมตตาบารมี ตอนที่ 14
...ข้าแต่พระราชา ...พระองค์ทรงทำความผิดไว้มาก ได้กระทำกรรมอันชั่วช้า ประทุษร้ายสุวรรณสามผู้บริสุทธิ์ ทำให้บิดามารดาผู้ตาบอดของเธอพลอยลำบาก และกำลังจะอดตายตามกันไป พระองค์ทรงทำบาปมหันต์ จะตกไปสู่อบายอย่างแน่แท้
ทศชาติชาดก เรื่อง พระมหาชนก ผู้ยิ่งด้วยวิริยบารมี ตอนที่ 21
กุมาริกาได้กล่าวเตือนพระสติพระมหาสัตว์ต่อไปว่า “ธรรมดาสมณะทั้งหลาย ย่อมไม่พาสตรีเที่ยวไป แต่ทำไมท่านจึงพาภรรยาซึ่งมีรูปงามดุจเทพอัปสรเที่ยวไปด้วยเล่า ภรรยาจะทำให้สมณธรรมของท่านมัวหมอง ท่านจงยินดีในการอยู่คนเดียวเถิด”
ทศชาติชาดก เรื่อง พระมหาชนก ผู้ยิ่งด้วยวิริยบารมี ตอนที่ 19
นารทดาบสต้องการให้พระโพธิสัตว์สมาทานมั่น จึงถวายข้อคิดว่า “พระองค์ เพียงแต่ทรงเพศบรรพชิตนี้ จะสำคัญว่า เราข้ามพ้นกิเลสแล้วหาได้ไม่ กรรมคือกิเลสนี้ ไม่ใช่ว่าจะพึงข้ามได้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เพราะยังมีอันตรายอยู่มาก”
มโหสถบัณฑิต ตอนที่ ๑๘ ( ผดุงคุณธรรม )
บุคคลนั่งหรือนอนที่ร่มเงาของต้นไม้ใด ไม่พึงหักรานกิ่งของต้นไม้นั้นเพราะผู้ประทุษร้ายมิตรเป็นผู้ชั่วช้า ข้าแต่มหาราชเจ้า ถ้าบุคคลหักกิ่งต้นไม้ที่ตนได้บริโภคชื่อว่าเป็นผู้ประทุษร้ายมิตรไซร้ ผู้ที่ประทุษร้ายต่อผู้มีพระคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม จะเป็นคนเช่นไรเล่า